วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับวันนี้



        การจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยนั้น ครูต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องพัฒนาการเเละวิธีการเรียนรู้ของเด็ก โดยจะจัดกิจกรรมในสิ่งที่เด็กสนใจ หรือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก เมื่อเด็กได้เรียนรู้ก็จะทำให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เเละครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ได้เกิดการคิดริเริ่ม เมื่อเด็กได้คิดบ่อยๆก็ทำให้เกิดการคิดคล่องเเคล่ว ต่อมาคือเด็กได้ลงมือทำบ่อยๆก็จะเกิดการปรับเปลี่ยนสิ่งมีให้ดีขึ้น ทำเกิดการคิดยืดหยุ่น ตามด้วยการคิดละเอียดลออ การคิดทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่การคิดสร้างสรรค์

        หลังจากนั้นอาจารย์จึงให้นักศึกษาเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่ผู้ปกครองเเละเด็กสามารถทำร่วมกันได้ เพื่อให้เด็กนั้นได้เกิดความคิสร้างสรรค์ โดยให้ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เช่น ขวดน้ำ กล่อง เป็นต้น ดิฉันจึงได้ทำการสานตะกร้าจากกล่องนม



วัสดุ อุปกรณ์
๑. กล่องนม

๒. กรรไกร

๓. ไม้บรรทัด

๔. ดินสอหรือปากกา

๕.เชือก


วิธีทำ
๑. พับกล่องนมให้เรียบตัดด้านหัวและท้ายออกแล้วล้างให้สะอาดเช็ดให้แห้ง

๒. ตัดกล่องกระดาษให้มีขนาดเท่า ๆกันประมาณ ๒ ซ.ม. (ขึ้นอยู่กับขนาดของกล่องนม)


๓. นำวัสดุมา ๒ ชิ้นมาขัดกัน


๔. นำวัสดุชิ้นที่ ๓ มาสอดทับเส้นแนวนอน


๕. นำวัสดุชิ้นที่ ๔ มาสอดทับบนเส้นวัสดุแนวตั้งและสอดกลับเข้าไปในวัสดุชิ้นที่ ๑ เพื่อขัดกันให้เป็น ตารางสี่เหลี่ยมและดึงปลายแต่ละข้างให้ตึง



๖. การต่อชุดข้อต่อให้นำวัสดุมาสอดทับและสอดกลับ เข้าไปในวัสดุอีกอันเพื่อขัดกันให้เกิดเป็นตารางสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นให้สานต่อไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนได้ความยาวและความกว้างตามต้องการ(ฐานตะกร้า)






๗. เข้ามุมตะกร้าให้หักขึ้นเป็นด้านข้างของตะกร้าความสูงตามต้องการ 





๘. ต่อชุดข้อต่อไปเรื่อย ๆเป็นตารางสี่เหลี่ยม จนได้ความยาวและความกว้างตามต้องการ เเล้วเก็บขอบตะกร้าให้สวยงาม



๙.ทำสายตะกร้าด้วยเชือก เสร็จเเล้วค่ะ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมสิ่งที่ประดิษฐ์ไปสอนเด็กโยใช้กระดาษหรือนิตยาสารที่ไม่ได้เเล้วมาสานเป็นตระกร้าเล็กๆ 
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังอาจารย์ 
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนตั้งใจฟัง ร่วมกิจกรรมกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เเต่งตัวเรียบร้อย พูดจาชัดเจน เข้าใจง่าย มีเทคนิคในการสอนสอดเเทรกอยู่เสมอ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น