วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาร้องเพลงเพื่อจับกลุ่มเเล้วเเต่งนิทาน พร้อมออกมาเเสดง เเละนี่คือนิทานของกลุ่มดิฉัน


นิทานเรื่อง ยีราฟผู้กระหายน้ำ

         กาลครั้งหนึ่งนานมาเเล้วมียีราฟตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ วันหนึ่งมันได้ออกหาอาหารกินใบไม้ใบหญ้าเเละหาน้ำกินเพื่อที่จะดื่มคลายกระหาย มันเดินเข้าไปในป่า เจอน้ำบ่อหนึ่ง
ยีราฟ : อ้าว เจ้าม้าลายเจ้ามาหาอาหารหรอ
ม้าลาย : ใช่ ฉันออกมาหาอาหารเเละหิวน้ำมาก จึงมากินน้ำที่ บ่อนี้
ยีราฟ : ข้าก็หิวน้ำ เเต่น้ำบ่อนี้เหลือน้อยจริงๆ ข้าไปหาบ่อหน้าดี กว่าคงต้องเยอะกว่าเเน่เลย
ยีราฟยังคงเดินต่อไปเรื่อยๆหาบ่อน้ำต่อไป
วัว : เจ้ายีราฟทำไมเจ้าดูเหนื่อยนัก เจ้าไปทำอะไรมา
ยีราฟ : บ่อที่เจ้ากินน้ำน้อยกว่าบ่อที่ข้าเจอเสียอีก ข้าเดินต่อไป อีกหน่อยดีกว่า น้ำคงต้องเยอะกว่านี้เเน่เลย
ยีราฟก็ยังคงเดินหาน้ำต่อไปเรื่อยๆจนถึงบ่อสุดท้าย
ช้าง : เหตุใดเจ้าจึงดูหน่อยล้า ไม่มีเเรงเช่นนี้
ยีราฟ : ทำไมบ่อน้ำช่างเเห้งขอดไม่มีน้ำพอจะดื่มดับกระหาย   ข้าหิวน้ำเหลือเกินจะทำอย่างไรดี ฮือๆๆๆๆๆๆๆ 
ช้าง : เพราะเจ้วมัวเเต่หวังน้ำบ่อหน้า ไม่ยอมกินตั้งเเต่บ่อแรก เจ้าจึงกระหายเช่นนี้ เจ้าจงกลับไปกินน้ำบ่อเเรกเถิด เพราะในบ่อน้ำนี้ไม่มีให้เจ้ากินเสียเเล้ว
นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่าของที่ได้แน่นอนแล้วไม่เอา กลับไปคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

นี่คือของกลุ่มเพื่อน
นิทานเรื่อง หญ้าแฝก

นิทานเรื่อง เพื่อนรัก

นิทานเรื่อง เจ้าหญิงกบ

นิทานเรื่อง หญ้าแฝก

การเเต่งนิทานกับเพื่อนนั้น
1.ได้ฝึกการทำงานร่วมกับเพื่อ
2.ได้รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
3.ได้มีการปรับตัวกับการทำงานกลุ่มใหม่

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่มใหม่ เเล้วใช้ร่ายกายของเราเป็นเครื่องดนตรีพร้อมกับร้องเพลงประกอบจังหวะ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมการเเต่งนิทานมาใช้กับเด็กได้ เพื่อให้เด็กมีจินตนาการในเรื่องต่างๆ
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังอาจารย์ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน มีจดบันทึกระหว่างที่สอน
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนเเต่ละคนให้ความร่วมมือ เเละตั้งใจทำกิจกรรมเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การสร้างสรรค์หรือความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถสร้างได้โดยใช้วัสดุเหลือใช้ เด็กทุกคนสามารถริเริ่มสร้างสรรค์ได้เพราะว่าในบริบทเด็กได้มีประสบการเดิม อาจจะไม่ถึงการคิดที่ละเอียดลออเเต่เด็กก็กริเริ่มที่จะคิด เด็กบางคนอาจจะจินตนาการที่เเตกต่างกันไป เช่น ถ้าเรามองเห็นภูเขาเเล้วเราคิดถึงอะไร ทุกคนก็จัตอบคล้ายๆกัน ต้นไม้ น้ำ สัตว์ เเต่ถ้าคนที่มีความคิดสร้างสร้างในตัวนั้นเขาอาจจะตอบว่าภูเขาเหมือนขนมปัง นั้นคือเป็นการคิดเปรียบเทียบ จะทำให้เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาให้เด็ก
  • หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนให้นักศึกษาคิดคล่องเเคล่ว โดยการถามตอบ คำที่ขึ้นต้นด้วย กะ หรือ กระ ครั้งเเรกเพื่อนอาจจะตอบได้ช้า พอครั้งที่ 2 3 ตอบได้เร็วขึ้น
  • การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์กับการเคลื่อนไหว เช่น การให้เด็กเต้นอารบิก จะสร้างสรรค์ท่าทางการเต้น โดยมีเพลงท่าทางตามอิสระ การเล่านเรื่องราว เเล้วให้เด็กเเสดงบทบาทสมมุติตามจินตนาการของเเต่ละคน
ภาพสรุปการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง

การเคลื่อนไหวตามเพลง

การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

การเคลื่อนไหวความจำ

การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง

การเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมการเคลื่อนไหวมาปรับใช้กับหน่วยที่เราจะสอนเด็กได สามารถทำให้เด็กนั้นมีความคิดสร้างสรรค์
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังอาจารย์ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน มีจดบันทึกระหว่างที่สอน
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนเเต่ละคนให้ความร่วมมือ เเละตั้งใจทำกิจกรรมเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้อาจารย์ให้เเต่ละคนนำเสนอสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ที่เด็กสามารถทำร่วมกับผู้ปกครองได้ มีดังต่อไปนี้
สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นการทดลอง

โฮโรแกรมสามมิติ


เตาอบป๊อบคอร์น

รถขับเคลื่อนด้วยหนังยาง

สิ่งประดิษฐ์

โคมไฟจากขวดน้ำ

อ่างล้างจานจำลอง จากลังกระดาษ

เตาแก๊สจำลอง จากลังกระดาษ

หมวกจากกล่องนม

เครื่องคิดเงินจำลอง จากลังกระดาษ

สานเสื่อจากกล่องนม

บัวรดน้ำจากกระป๋อง

กล่องดินสอจากขวดพลาสติก

โต๊ะจากลังกระดาษ

ตู้ลิ้นชักใส่ของจากลังกระดาษ

กระเป๋าจากกล่อง

ร้อยเชือกรองเท้า

ที่ทำความสะอาดรองเท้าจากฝาขวดน้ำ

ฝาชีจากขวดน้ำ

ที่คาดผมจากฝาขวดน้ำ

ตู้เย็นจากขวด

เคสโทรศัพท์

สานตะกร้าจากกล่องนม 

        หลังนั้น อาจารย์ให้ตั้งประเด็นปัญหาจากสิ่งที่เราประดิษฐ์ เช่น จะทำอย่างไรให้เห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนจากวัสดุเหลือใช้ แว่นขยายจากขวดน้ำ ขั้นตอนในการทำ 
       ส่วนของดิฉัน สานตะกร้าจากกล่องนม ตั้งปัญหาคือ จะทำอย่างไรถ้าไปตลาดเเล้วไม่มีที่ใส่ของ 

การตั้งประเด็นปัญหา มี 2 แบบคือ
1. ตั้งปัญหา 
2. ตั้งเป้าหมาย 


จากนั้นอาจารย์ให้ทำงานกลุ่ม หนังสือตัวเลข









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ได้จริง สามารถทำให้เด็กนั้นมีความคิดสร้างสรรค์
ประเมินตนเอง 
  • ตั้งใจฟังอาจารย์ มีจดบันทึกระหว่างที่สอน
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนเเต่ละคนนำของเล่นที่ประดิษฐ์มานำเสนอเเต่ละคนมีความคิดที่เเตกต่างกัน มีความคิดสร้างสรรค์ ในการทำงาน
ประเมินอาจาย์
  • อาจารย์สอนในเรื่องหลักการต่างๆ เพื่อที่ได้เป็นตามขั้นตอนจะได้จำง่ายขึ้น