วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
**สอบกลางภาค**
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  4
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559
การสอนเเบบ steam
หน่วย ยานพาหนะ



วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับวันนี้

วันนี้เรียนเรื่อง STEM” คืออะไร
•เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 
•นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 
•เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM Education (สะเต็มศึกษา)
•Science
•การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
•เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ 
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

•Technology 
•วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
•สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต 
•ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร, 
กบเหลาดินสอ เป็นต้น

•Engineering 
•ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง 
•กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1) 
•ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น 

•Mathematics 
•วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225) 
•เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ
รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
•ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ 
•เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่

“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย

•“STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น 
•การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 
•ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ 
เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 


STEAM Education

STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” 
•เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น



นี่คือตัวอย่างการสอน“STEM” ผีเสื้อกับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ดังต่อไปนี้

เริ่มการสอนด้วยการเเนะทำอุปกรณ์ เเจกอุปกรณ์ให้เด็ก 

อุปกรณ์ มีดังนี้ 1.จานกระดาษ 2.สีเทียน 3.กรรไกร 4.ไม้ไอติม 5.กาว 

เริ่มจากการออกเเบบปีกของผีเสื้อ



เเล้วใช้สีตกเเต่งปีก ตัวของผีเสื้อให้สวยงวย
เสร็จคะ ผีเสื้อของกลุ่มเรา เมื่อเราได้ผีเสื้อเเล้ว เราจึงต้องทำกรงของผีเสื้อ โดยใช้กิ่งไม้ที่ครูเตรียมมาทำ
เริ่มจากการวางเเผนว่าเราทำกรงเเบบไหนดี

ลงมือช่วยกันทำ
เริ่มจะออกมาเป็นรูปเป็นร่างเเล้ว









หลังจากนั้นก็นำผ้าขาวบางมาคุมเพื่อให้ดูเป็นกรงที่สมบูรณ์เเละน่ารัก เเล้วนำผู้เสื้อเข้าไปอยู้ในกรง

หลังนั้นอาจารย์ก็ให้นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นวงจรชีวิตของผีเสื้อเพื่อที่เราจะได้รู้ที่มาของผีเสื้อ

เมื่อเราปั้นวงจรชีวิตของผีเสื้อเสร็จ อาจารย์ก็ให้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนนั้นก็คือ โทรศัพท์มือ ให้โหลดแอฟ ที่เกี่ยวกับการถ่ายสโลภาพช้าๆเผื่อที่จะได้เห็นวิวัฒนาการของผีเสื้อก่อนหน้านั้น 

สามารถดูวีดีโอวัฏจักรผีเสื้อกลุ่มเราได้ที่ https://www.facebook.com/mini.may.581/posts/661540824020928?notif_t=tagged_with_story&notif_id=1473656704907594
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำการสอบเเบบสะเต็มมาประยุกต์ใช้ได้ในยุคปัจจุบันนี้ เพราการเรียนการสอนเเบบเดิมอาจจะยังไม่เหมาะกับเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะด้านการออกเเบบเเละสิลปะเด็กปฐมวัยจะชอบมากทำให้เด็กได้เเสดงความคิดสร้างได้อย่างอิสระ 
  • การสอนในเรื่องเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ นั้นอาจจะไม่เพียงพอครูจึงหาวิธีการเเก้ไขโดยการให้เด็กจับกลุ่มในการใช้โดยมีครูดูเเลอย่างใกล้ชิด 
  • สามารถนำการสอบเเบบสเต็มมาเขียนแผนการสอนได้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมมีการเเสดงความคิดเห็นอยู่กับเพื่อนตลอดเวลา สนุกกับกิจกรรมที่ได้ทำอย่างให้อาจารย์สอนวิธีการสอนเเบบนี้โดยไม่ต้องเน้นเนื้อหามาก ให้เน้นการลงมือปฎิบัติมากกว่า เพื่อที่จะนำไปใช้กับเด็กได้จริง
ประเมินเพื่อน
  • ตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยกันทำงาน วันนี้เรียนร่วมกับเพื่อนอีกเชครู้สึกอบอุ่นดีคะ เเต่ดูวุ่นวายนิดๆ เเต่การทำกิจกรรมก็ผ่านไปด้วยดีคะ 
ประเมินอาจารย์
  • ·อาจารย์พูดเพราะมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ใช้สอนเด็กได้ชัดเจน นำไปใช้ได้จริง มีการซักถามตอบโต้กับนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา มีการเตรียมการเรียนการสอนมาอย่างดี


วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
เริ่มต้นการเรียนด้วยการดูวีดีโอการนั่งรถเมย์ในเมืองไทย
    เรียนเนื้อหาเรื่องการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
    การเล่น กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
    ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น Piaget
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส  (SensorimotorPlay) สำรวจ จับต้องวัตถุ ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ 
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) อายุ 1 ½ - 2 ปี การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ 
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  1. การเล่นกลางแจ้ง
  2. การเล่นในร่ม 
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ 
  • การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
  •  การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
  • การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
  • การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
  • ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน กระบวนการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
        ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็กศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสมมีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
มีการสรุปท้ายกิจกรรม


หลักจากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรม มาสเมโล่ โดยกำหนดให้ต่อยังยังก็ได้โดยให้สูงที่สุด




โอยเเจกอุปกรณ์ ดังภาพ เเล้วเเบ่งกลุ่ม 5 คน
                   
อาจารย์มีข้อกำหนดว่าห้ามให้ทุกคนพูดในระหว่างที่ลงมือทำ
                                    
ครั้งเเรกกลุ่มเราต่อได้ 37 ซม.
ครั้งที่ 2 ต่อได้ 48 ซม.
ครั้งที่ 3 ให้คนในกลุ่มพูดได้ 1 คน จึงต่อได้ 52 ซม.จะเห็ได้ว่าการต่อในเเต่ละครั้งมีการต่อที่สูงขึ้นตามลำดับ กิจกรรมนี้สอนให้เราได้รู้จักการวางเเผน   

กิจกรรมที่ 2 เรือน้อยบรรทุกของ โดยอาจารย์เเจกกระดาษ 1 เเผ่น หลอดดูดน้ำ 4 หลอด หยังยาง 4 เส้น โดยให้เเต่ละกลุ่มออกเเบบเรือโดยบบรทุกซอสซองให้ได้มากที่สุด เเบ่งกลุ่ม 5 คน




นี่คือเรือของกลุ่มเราค่ะ บรรทุกซื้อได้ถึง 52 ซอง



นี่คือการออกมาลอยเรือของเพื่องเเต่งละกลุ่ม
กิจจกรรมที่ 3 การเเบชุดเเต่ละกลุ่ม อาจารย์จะเเจกเทปกาว 1 ม้วนต่อ 1กลุ่ม โดยการออกเเบบชุด โยมีเกณฑ์ ดังนี้ ทำเสื้อมีไหล่ มีเครื่องประดับ มีเเผงหลัง รองเท้า เป็นต้น

เเล้วให้เเต่ละกลุ่มออกมาเดินโชว์ พร้อมกับบรรยายเเรงบันดารใจในการทำชุดนี้ขึ้นมา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมมาใช้กับเด็กได้โดยเปลี่ยอุปกรณ์ให้เหมาะกับเด็กอย่างเช่น เปลี่ยนจากไม้จิ้มฟัน เป็นตะเกียง หรือไม้เสียบลูกชี้น
ประเมินตนเอง
  •      ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมมีการเเสดงความคิดเห็นอยู่กับเพื่อนตลอดเวลา
ประเมินเพื่อน
  • ตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยกันออกเเบบเรือ ชุด ต่างๆ
ประเมินอาจารย์

  • ·       อาจารย์พูดเพราะมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ใช้สอนเด็กได้ชัดเจน ระหว่างเรียนมีเกมหรือกิจกรรมให้เล่นให้ตอบอยู่เสมอๆ เเละกิจกรรมที่ทำสามารถนำไปสอนหรือประยุกต์ใช้ได้กับเด็กจริง การเรียนวิชานี้ทำให้ไม่เคลียดผ่อนคลายอยู่เสมอ